ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ผลงานของ นางสาว กลมชนก สมใจ ได้เลย ค่ะ

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การจัดหาซอฟต์เเวร์เพื่อมาใช้งาน

การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ 

1. แบบสำเร็จรูป (Packaged or Ready-Made Software)วิธีที่ผู้ใช้งานซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตได้โดยตรง ซึ่งมักจะมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว ผู้ใช้สามารถนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้โดยทันที กรณีที่ไม่สามารถเลือกซื้อผ่านร้านตัวแทนจำหน่ายได้ อาจเข้าไปในเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั้นๆ แล้วกรอกข้อมูลรายการชำระเงินผ่านแบบฟอร์มบนเว็บ เมื่อรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายชำระเงินของผู้ซื้อได้รับการอนุมัติแล้ว ก็สามารถดาวน์โหลดเอาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้ทันทีอ่านเพิ่มเติม










ซอฟต์เเวร์ประยุกต์

                  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)  คือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น  การทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้นอ่านเพิ่มเติม




ซอฟต์เเวร์ระบบ

            ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ กล่าวคือ เป็นโปรแกรมควบคุมและประสานการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งดำเนินงานพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น สั่งให้รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ สั่งให้ซีพียูคำนวณผล สั่งให้แสดงผลทางลำโพง เป็นต้น ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมอรรถประโยชน์ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้อ่านเพิ่มเติม





ซอฟต์เเวร์คอมพิวเตอร์เเละการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
            ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า  โปรแกรม  ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้นอ่านเพิ่มเติม